เตรียมตัวก่อนจดทะเบียนบริษัท 2564
บริการด้าน รับจดทะเบียนบริษัท งานบัญชี ครบวงจร ก่อตั้งขึ้นจากมืออาชีพที่มีประสบการณ์ทางด้าน รับจดทะเบียนบริษัท ที่ยาวนาน โดยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายท่าน มุ่งเน้นการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาพร้อมทั้งให้ข้อมูลกฎหมายต่างๆ ที่เป็นประโยชน์กับลูกค้าของเรา ทำให้เราได้รับการยอมรับให้เป็นผู้จัดตั้งบริษัท และดูแลบัญชีให้บริษัทและองค์กรต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ
ให้บริการ ด้านการจัดตั้งธุรกิจ รับจดทะเบียนบริษัท ปี2564 รับจดทะเบียนบริษัท ปี2021 เริ่มต้นธุรกิจปี2564 จดทะเบียนบริษัททั่วไทย เปิดบริษัทปี2564 จดทะเบียนบริษัทปี64 รับเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบภายใน ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์พร้อมด้วยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาเป็นธรรมและซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา รับจดทะเบียนบริษัท-ปี2564 ด้วยเศรษฐกิจที่เติบโต อย่างต่อเนื่อง การสร้างธุรกิจเพื่อรองรับกับเศณษฐกิจโลกจึงมีความสำคัญ
ปรึกษาเรื่องการจัดตั้งบริษัท จดทะเบียนบริษัท ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย เราดำเนินงานด้าน รับจดทะเบียนบริษัท จดทะเบียนบริษัท อย่างมีระบบ และคำนึงถึงความถูกต้อง เราสามารถช่วยหาทางออกในการดำเนินธุรกิจของท่านให้ประสบความสำเร็จได้ โทร 083-622-5555
ข้อมูลสำคัญที่ควรวางแผนให้ดีก่อนจดทะเบียนบริษัทและหุ้นส่วนจำกัด จดทะเบียนบริษัทปี2564 จดทะเบียนบริษัทปีจอ เริ่มต้นธุรกิจปี2564 จดทะเบียนบริษัททั่วไทย เปิดบริษัทปี2564 จดทะเบียนบริษัทปี64 จดทะเบียนบริษัท64 รับเป็นที่ปรึกษาด้านบัญชี ภาษี ตรวจสอบภายใน ด้วยทีมงานที่มีประสบการณ์พร้อมด้วยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ ราคาเป็นธรรมและซื่อสัตย์ตรงไปตรงมา
1. ชื่อบริษัท หรือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ทั้งภาษาไทย และ ภาษาอังกฤษ เพราะชื่อที่คิดจะต้องส่งมาจองก่อน ชื่อห้ามซ้ำกับนิติบุคคลที่มีอยู่ก่อนแล้ว คลิ๊กแอดไลน์เพื่อส่งข้อมูลมาจองชื่อ
2. ทุนจดทะเบียน ทุนจดทะเบียนคือเงินของผู้ถือหุ้นทุกคนที่จะลงทุน เริ่มต้นทำธุรกิจ ส่วนใหญ่จะระบุไว้ที่ 1 ล้านบาท เพราะค่าธรรมเนียมไม่ว่าจะจดทะเบียน ทุน 1 แสน , 2 แสน หรือ
1 ล้าน ค่าธรรมเนียมจะเท่ากัน ที่จดกัน 1 ล้าน เพราะต้องการให้บริษัทดูดีมีความน่าเชื่อถือ และถ้าจดในรูปแบบบริษัทจะดีตรงที่ ถ้าเราระบุ ทุน 1 ล้าน บาท เราไม่จำเป็นต้องมีเงินถึง
1 ล้านจริงๆ ก็ได้ มีแค่ 25 % ก้อได้ และถ้าจะถามต่อไปอีกว่า ถ้าไม่มี 25 % หรือ 250,000 บาท จริงๆ จะดำเนินการจดบริษัทได้ไหม ก็ตอบว่าได้ครับ
ตรงนี้อาจโทรมาปรึกษาได้ คลิ๊กโทร
3. การแบ่งสัดส่วน หุ้น จะอธิบายแบบทั่ว ๆ ไป ที่ส่วนใหญ่ทำกัน คือการลงทุนด้วยเงินนะครับ
จด หจก. เริ่มต้นก่อตั้งใช้คน 2 คน ให้คิดเป็น % เช่น นาย ก. ถือ 70 % นาย ข. ถือ 30% รวมกัน 2 คน ให้ได้ 100 % ส่วนทางบริษัทจะคำนวณจากทุนจดทะเบียนออกมาเป็นจำนวนเงินให้ครับ
จดบริษัท เริ่มต้น ก่อตั้งใช้ คน 3 คน ให้คิดออกมาเป็น % เช่น นาย ก. คือ 50 % นาย ข. คือ 30 % นาย ค. 20 % รวม 3 คน ได้ 100 % ส่วนทางบริษัทจะมาแปลงเป็นจำนวนหุ้น และตีออกมาเป็นจำนวนเงินให้ครับ
สิ่งสำคัญ การจะแบ่งหุ้นให้ใครต้องคิดให้ดี ๆ นะครับ แบ่งให้แล้วเอาคืนมายาก ถ้าเกิดร่วมงานกันแล้วมีปัญหาภายหลัง ยกเว้นถ้าลงเงินกันจริงๆ ก็ต้องแบ่งไปตามสัดส่วนที่ลงทุนกันจริงๆ แต่ถ้าคิดจะให้ด้วย แค่เอาชื่อมาประกอบ ผมแนะนำ แบ่งให้แค่คนละ 1 % ก็พอครับ เพราะต่อไปเวลาราจะไปทำเรื่องเปิดบัญชีเงินฝากที่ธนาคารในนามบริษัท จะได้ไม่วุ่นวายปวดหัว ที่จะต้องพาหุ้นส่วนไปเปิดบัญชีด้วย เพราะถ้าใครถือหุ้นตั้งแต่ 20 % จะต้องไปทำเรื่องเปิดบัญชีด้วย
คงไม่สะดวกที่จะต้องลางานบ่อย ๆ
4. อำนาจกรรมการ
การเขียน อำนาจกรรมการส่วนใหญ่จะเขียน ดังนี้
1. ระบุชื่อกรรมการไปเลย
2. ถ้ามีกรรมการตั้งแต่ 2 คน ขึ้นไป
- กรรมการหนึ่งคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญ
- กรรมการสองคนลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญ
- นาย ก. ลงลายมือชื่อ ร่วมกับ นาย ข. หรือ นาย ค. และประทับตราสำคัญ
สิ่งสำคัญ ใครที่ไม่มีอำนาจในการบริหารหรือตัดสินใจ ไม่ควรเอาชื่อมาใส่เป็นกรรมการ
5. การเขียนวัตถุประสงค์
ปรกติทางบริษัทจะมีวัตถุประสงค์ทั่วๆ ไป คือ แบบ ว.1 งานด้านค้าขาย และ แบบ ว.2
งานด้านบริการ ซึ่งรวมกันแล้วประมาณ 35 ข้อ
ที่เหลือให้ทางลูกค้าระบุข้อที่เราทำเป็นงานหลัก ๆ โดยใส่ได้ไม่จำกัด แต่ข้อที่เราทำมากที่สุด
หลักๆให้ใส่มาเป็นอันดับที่ 1 และ 2 ข้อที่ทำน้อยหรือนานๆ จะทำให้ใส่เป็น ข้อ 3,4,5,6....
ต่อไป เพราะเรื่องวัตถุประสงค์จะมีผลในเรื่องของงานจัดทำบัญชีและยื่นจดภาษีมูลค่าเพิ่ม
ต่อไป
หมายเหตุ : สุดท้ายข้อมูลต่างๆ สำคัญทุกข้อทางบริษัท แนะนำว่าควรโทรมาคุยปรึกษาทีมงานจะดีที่สุด